ข้อบังคับ ชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี
ข้อบังคับ
ชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี
พ.ศ.2564
_____________________
เพื่อให้การดำเนินการชของ “ชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี” ทั้งทางด้านบริหารจัดการและการพัฒนากีฬาดำน้ำ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงได้วางข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2564”
ข้อ 2 คำจำกัดความ ในข้อบังคับนี้ หมายความว่า ดังนี้
2.1 ชมรม หมายถึง ชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี
2.2 คณะกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการบริหารชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี
2.3 สมาชิก หมายถึง สมาชิกที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในหมวดที่ 2 ของข้อบังคับนี้
2.4 ประธานชมรม หมายถึง ประธานชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี
2.5 เลขานุการ หมายถึง เลขานุการชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี
หมวดที่ 1
ความทั่วไป
ข้อ 3 ชมรมนี้มีชื่อว่า “ชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี” ใช้อักษรย่อว่า “ช.ด.ร.” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Ratchaburi Diving Sport Club” ใช้อักษรย่อว่า “RDSC”
ข้อ 4 เครื่องหมายและตราประทับของชมรม มีดังนี้
ข้อ 5 สำนักงานของชมรม ตั้งอยู่ เลขที่ 20/23 ถ.สมบูรณ์กุล ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี70000 จะเปิดทำการตามวันและเวลาราชการ และหยุดวันหยุดราชการ และนักขัตฤกษ์ และจะเปิดเมื่อมีกิจพิเศษตามความจำเป็น
ข้อ 6 วัตุประสงค์ของชมรม
6.1 ส่งเสริมให้เยาวชน และประชาชนทั่วไปสนใจในการดำน้ำ รวมทั้งใช้อุปกรณ์ดำน้ำที่ทันสมัยได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยตามมาตรฐาน 6.2 จัดการเรียนการสอนหลักสูตรดำน้ำสากล ให้แก่ บุคคลทั่วไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการใต้น้ำ ตั้งแต่หลักสูตรระดับเริ่มต้นถึงมืออาชีพ
6.3 จัดการเรียนการสอนหลักสูตรกู้ภัยทางน้ำและการค้นหาใต้น้ำ ให้แก่หน่วยงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ
6.4 สนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการสำรวจ ช่วยเหลือ ค้นหา และช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
6.5 จัดชุดสำรวจใต้น้ำ เพื่อสนับสนุนภารกิจการค้นหาหลักฐาน การก่อสร้างและการซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ใต้น้ำ
6.6 จัดสมาชิกของชมรม ฯ เข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติใต้ท้องทะเล ร่วมกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ
6.7 จัดเตรียมนักดำน้ำเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาดำน้ำประเภทต่าง ๆ
6.8 จัดนิทรรศการเผยแพร่กีฬาด้ำน้ำในโอกาสต่าง ๆ
6.9 สนับสนุนหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินการกิจการดำน้ำ เพื่อการศึกษา ค้นคว้าและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
6.10 ให้ความรู้ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการดำน้ำต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ
6.11 ไม่ดำเนินกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม และไม่แสวงหาผลกำไรและรายได้มาแบ่งกัน
6.12 ไม่ตั้งโต๊ะบิลเลียด สนุกเกอร์ และตู้เกมส์การพนันดใด ๆ
หมวดที่ 2
สมาชิก
ข้อ 7 สมาชิกของชมรม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
7.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่ สมาชิกที่เป็นนักดำน้ำตามมาตรฐานสากล หรือเป็นนักดำน้ำของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ ชมรม และองค์กรต่าง ๆ แม้จะยังไม่มีบัตรดำน้ำสากลก็ตาม
7.2 สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ สมาชิกที่ประสงค์เข้าร่วมกิจกรรม ถึงแม้จะดำน้ำไม่เป็นก็ตาม
7.3 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ เป็นบุคคลผู้ทรงเกียรติหรือผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีอุปการคุณต่อชมรม ซึ่งคณะกรรมการมีมติเชิญเข้าเป็นสมาชิกของชมรม มีศักดิ์และมีสิทธิ์เหมือนสมาชิกทุกประการ ยกเว้น ไม่ต้องชำระค่าสมาชิก
ข้อ 8 ค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงสนาม
8.1 สมาชิกสามัญ ค่าลงทะเบียนครั้งแรก 200 บาท ค่าบำรุงประจำปี 500 บาท
8.2 สมาชิกวิสามัญ ค่าลงทะเบียนครั้งแรก 100 บาท ค่าบำรุงประจำปี 300 บาท
ข้อ 8 ค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงสนาม
8.1 สมาชิกสามัญ ค่าลงทะเบียนครั้งแรก 200 บาท ค่าบำรุงประจำปี 500 บาท
8.2 สมาชิกวิสามัญ ค่าลงทะเบียนครั้งแรก 100 บาท ค่าบำรุงประจำปี 300 บาท
8.3 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงชมรม แต่อย่างใดทั้งสิ้น
ข้อ 10 การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของชมรม ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของชมรม ต้องยื่นใบสมัครหรือสมัครในแอพพลิเคชั่นที่ชมรมกำหนด โดยมีคณะกรรมการชมรม หรือสมาชิกกิตติมศักดิ์คนใดคนหนึ่งให้การรับรอง พร้อมชำระค่าลงทะเบียนครั้งแรกและค่าบำรุงประจำปี ตามข้อ 8
ข้อ 10 การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของชมรม ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของชมรม ต้องยื่นใบสมัครหรือสมัครในแอพพลิเคชั่นที่ชมรมกำหนด โดยมีคณะกรรมการชมรม หรือสมาชิกกิตติมศักดิ์คนใดคนหนึ่งให้การรับรอง พร้อมชำระค่าลงทะเบียนครั้งแรกและค่าบำรุงประจำปี ตามข้อ 8
ข้อ 11 สมาชิกของชมรม มีหน้าที่
11.1 ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี กติกา คำสั่ง หรือมติของคณะกรรมการ และต้องรับผิดชอบในความประพฤติของสมาชิก
11.1 ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี กติกา คำสั่ง หรือมติของคณะกรรมการ และต้องรับผิดชอบในความประพฤติของสมาชิก
11.2 ร่วมมือในกิจกรรมของชมรมจัดขึ้น
11.3 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของชมรมให้เป็นที่แพร่หลาย
11.4 จะต้องชำระค่าบำรุงประจำปี ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ข้อ 12 สมาชิกของชมรม มีสิทธิดังนี้
12.1 มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมที่จัดขึ้น เป็นลำดับแรก
ข้อ 12 สมาชิกของชมรม มีสิทธิดังนี้
12.1 มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมที่จัดขึ้น เป็นลำดับแรก
12.2 มีสิทธิประดับเข็ม เครื่องหมาย และตราของชมรม
12.3 มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ที่ชมรมจัดให้มีขึ้น และได้รับความช่วยเหลือจากชมรมตามสมควร ตามหลักเกณฑ์มที่ชมรมกำหนด
12.4 มีสิทธิใช้สถานที่และอุปกรณ์ของชมรมโยเท่าเทียมกันตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
12.5 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยกับการดำเนินงานของชมรมต่อคณะกรรมการ
12.6 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ประจำปี โดยสมาชิกสามัญเท่านั้นที่มีสิทธิเสนอญัตติและออกเสียงลงมติ รวมทั้งมีสิทธิในการเลือกตั้งประธานชมรม หรือได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการชมรม
12.7 สมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 มีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อชมรม เพื่อตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของชมรมได้
ข้อ 13 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารและดำเนินกิจการของชมรม มีจำนวนอย่างน้อย 9 คนแต่ไม่เกิน 15 คน
ให้เลือกตั้งประธานชมรมฯ เพียงคนเดียวในที่ประชุมใหญ่ โดยวิธีการเสนอชื่อโดยสมาชิกสามัญหากมีผู้เสนอชื่อมากกว่า 1 คน ให้ลงคะแนนด้วยวิธีลับ การเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นประธานชมรมฯ ต้องมีสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย 3 คน ผู้มีสิทธิลงคะแนน คือสมาชิกสามัญเท่านั้น และให้ประธานชมรมฯ ไปแต่งตั้งคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามจำนวนที่กำหนดตามความเหมาะสมภายในสามสิบวัน ซึ่งตำแหน่งต่าง ๆที่แต่งตั้งจะทำหน้าที่ต่าง ๆ ดงนี้
13.1 ประธานชมรม ทำหนาที่บริหารและดำเนินกิจการต่าง ๆ ของชมรม เป็นตัวแทนของชมรมในการติดต่อกับบุคคลภายนอก ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมต่าง ๆ รมทั้งเป็นผู้กำหนดนโยบายการปฏิบัติและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ให้เป้นไปตามข้อบังคับของชมรมและกฎหมานที่เกี่ยวข้อง
13.2 รองประธานชมรมฯ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยประธานชมรม ในการบริหารและดำเนินกิจการของชมรม ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานชมรมมอบหมาย และทำหน้าที่แทนเมื่อประธานชมรมไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
13.3 เลขานุการชมรม ทำหน้าที่อำนวยการในการบริหารงานและดำเนินกิจการของชมรมให้เป็นไปตามนโยบายและคำสั่งของประธานชมรม รับผิดชอบงานธุรการทั้งปวงของชมรม ทำหน้าที่งานเลขานุการของชมรม และทำหน้าที่เลขานุการในการประชุม
13.4 นายทะเบียน ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานทะเบียนสมาชิก ทะเบียนประวัตินักดำน้ำ นักกีฬาดำน้ำ ตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิก และนักกีฬาดำน้ำให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของชมรมและกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
13.5 เหรัญญิก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการบัญชี บัญชีทรัพย์สินของชมรม จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย บัญชีงบดุลของชมรม และเก็บหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยข้องเพื่อการตรวจสอบ
13.6 ปฏิคม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรองและต้อนรับของชมรมฯ จัดเตรียมสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งการเตรียมสถานที่ประชุมของชมรมฯ
13.7 ประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่เผยแพร่การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรม รวมทั้งการดำเนินการเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของชมรม แก่สมาชิก บุคคลทั่วไป และสื่อมวลชนต่าง ๆ ให้เป็นที่แพร่หลาย
13.8 กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ให้ประธานชมรมกำหนดตามความเหมาะสมโดยรวมแล้วจะต้องมีจำนวนไม่เกินตามข้อบังคับนี้
ข้อ 14 กรรมการของชมรม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
14.1 มีสัญชาติไทย
14.2 มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำ
14.3 ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคลล้มละลายทุจริต
14.4 ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
14.5 ไม่เคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยความประมาทหรือความผิดลหุโทษ
14.6 ไม่เป็นผู้ที่คณะกรรมการของชมรม มีมติให้ออกจากกรรมการ อันเนื่องมาจากไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือการกระทำใด ๆ ที่นำความเสื่อมเสียมาสู่ชมรม
ข้อ 15 กรรมการของชมรมที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานชมรม มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี นับวันที่ประธานชมรมได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่
ข้อ 16 การเลือกตั้งประธานชมรมเพียงคนเดียวตามข้อ 8 นั้น หากตำแหน่งประธานชมรมว่างลงให้คณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และใหเคณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่ เพื่อเลือกตั้งประธานชมรมภายในสามสิบวัน
ข้อ 17 กรรมการประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ให้ทำเป็นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งต่อประธานชมรม และให้พ้นจากตำแหน่ง เมื่อหนังสือลาออกไปถึงประธานชมรมแล้ว กรณีประธานชมรมของลาออกจากตำแหน่ง ให้แจ้งลาออกต่อที่ประชุมคณะกรรมการ และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อที่ประชุมคณะกรรมการได้รับทราบแล้ว
ข้อ 18 ตำแหน่งคณะกรรมการชมรม ยกเว้นประธานชมรม หากว่างลงก่อนครบวาระ ให้ประธานชมรมแต่งตั้งบุคคลหรือสมาชิกที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่งที่ว่างลงนั้น และให้ผู้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น
ข้อ 19 กรรมการอาจพ้นตำแหน่ง ซึ่งมิใช่ออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้
19.1 ตาย
19.2 ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานชมรม
19.3 ขาดคุณสมบัติหรือสมาชิกภาพ
19.4 ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงสามในสี่ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่มการประชุม
19.5 ขาดการประชุม 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือรวม 5 ครั้งในวาระของกรรมการชุดนั้นโดยให้เลขานุการแจ้งให้กรรมการผู้นั้นทราบการพ้อนจากตำแหน่งด้วย
19.6 ตำแหน่งประธานชมรมว่างลง
ข้อ 20 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
20.1 มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับ ฉบับนี้
20.2 มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของชมรม
20.3 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการจะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
20.4 มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีและประชุมใหญ่วิสามัญได้
20.5 มีอำนาจลงโทษสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือระเบียบของชมรม หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการเสียหายแก่ชมรมตามสมควรแก่กรณี
20.6 มีอำนาจบริหารกิจการของชมรม เพื่อให้เป้นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจอื่น ๆ ตามข้อบังคับที่กำหนดไว้
20.7 มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะกิจ เฉพาะเรื่อง หรือปฏิบัติงานเป็นประจำจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกชมรม เพื่อดำเนินการบริหารจัดการเรื่อดังกล่านั้น ๆ ให้เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของชมรม
20.8 มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของชมรม
20.9 มีหน้าที่จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญร้องขอ จำนวนอย่างน้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
20.10 มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สิน รวมทั้งบัญชีงบดุลของชมรม และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถให้สมาชิกตรวจดูได้ เมือสมาชิกร้องขอ
20.11 มีหน้าที่จัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของชมรม เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ ในคราวเสนองบดุล
20.12 จัดทำบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของชมรม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบ และส่งรายงานการประชุมคณะกรรมการหรือประชุมใหญ่ทุกครั้ง ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
20.13 มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง แจ้งบัญชีรายชื่อ และจำนวนสมาชิกของชมรม เพียงสิ้นวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
20.14 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของชมรม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 21 กรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของชมรม
ข้อ 22 ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานชมรมและรองประธานชมรมไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่เข้าประชุมคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมในคราวนั้น
ข้อ 23 การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียเท่ากัน ก็ให้ประธานการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 24 การประชุมใหญ่ของชมรม มี 2 ชนิด คือ
24.1 การประชุมใหญ่สามัญ
24.2 การประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ 25 คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๆ ละหนึ่งครั้งไม่เกินเดือนเมษายนของทุก ๆ ปี
ข้อ 26 การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจจะมีขึ้นได้โดยเหตุทีคณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกสามัญ ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกสามัญทั้งหมด ร้องขอต่อกรรมการจัดการให้มีขึ้น
ข้อ 27 ในการที่คณะกรรมการได้รับการร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญให้เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับการร้องขอ ถ้าคณะกรรมการไม่เรียกประชุมภายในระยะเวลากำหนดนี้ สมาชิกสามัญที่เป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมจะเรียกประชุมเองก็ได้
ข้อ 28 การแจ้งกำหนดการประชุมใหญ่ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกทราบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลา และสถานที่ให้ชัดเจน ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน และประกาศแจ้งกำหนดการนัดประชุมใหญ่ในเว็บไซต์หรือช่องทางอื่นเพื่อทราบโดยทั่วกัน
ข้อ 29 การประชุมใหญ่ประจำปี ควรมีวาระการประชุมดังต่อไปนี้
29.1 ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
29.2 รับรองรายงานการประชุมใหญ่ประจำปีครั้งที่แล้ว
29.3 แถลงผลงานที่ผ่านมาในรอบปี
29.4 แถลงบัญชีรายรับ-รายจ่าย และบัญชีงบดุลของชมรมให้ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ
29.5 เลือกตั้งประธานชมรมให้เป็นไปตามข้อ 13 และข้อ 16 เมื่อครบกำหนดวาระหรือตำแหน่งประธานชมรมว่างลง
29.6 แต่งตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี
29.7 เรื่องอื่น (ถ้ามี)
ข้อ 30 ในการประชุมใหญ่สามัญ หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องสมาชิกสามัญเข้าร่วมการประชุมไม่น้อยครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมก็ให้ขยายเวลาออกไปอีกพอสมควร แต่เมื่อครบกำหนดเวลาขยายออกไปแล้ว ยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ก็ให้เลื่อนการประชุมคราวนั้นไป และให้จัดการประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ภายในสิบสี่วัน นับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก สำหรับการประชุมในครั้งหลังนี้ มีสมาชิกสามัญจำนวนเท่าใดก็ได้เป็นองค์ประชุม ยกเว้นถ้าเป็นการประชุมใหญ่สามัญที่เกิดขึ้น จากการร้องขอของสมาชิกสามัญ ก็ไม่ต้องจัดประชุมใหญ่ให้ถือว่าการประชุมเป็นอันยกเลิก
ข้อ 31 การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 32 สมาชิกสามัญจะมอบอำนาจให้สมาชิกสามัญอื่นเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนตนก็ได้ โดยมีหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมสำเนาบัตรของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ โดยผู้รับมอบอำนาจจะรับมอบอำนาจเกินหนึ่งแห่งไม่ได้
ข้อ 33 ในการประชุมใหญ่ของชมรม ถ้าประธานชมรม และรองประธานชมรม ไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่เข้าร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งให้ทำน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
ข้อ 34 การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของชมรม ให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของชมรม ถ้ามีให้นำฝากไว้กับธนาคารที่คณะกรรมการกำหนด โดยรายรับและรายจ่ายทั้งหมด ต้องผ่านบัญชีชมรมเท่านั้น
ข้อ 35 การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของชมรม จะต้องมีลายมือชื่อของประธานชมรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนประธานชมรม ร่วมกับเลขานุการหรือเหรัญญิก พร้อมประทับตราของชมรม จึงจะถือว่าใช้ได้
ข้อ 36 ให้ประธานชมรม มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน หากวงเงินที่สั่งจ่ายเกินกว่า 30,000 บาท (สามหมื่นบาท) จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการเสียก่อน
ข้อ 37 ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของชมรม ไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของชมรมทันทีที่โอกาสอำนวย
ข้อ 38 เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการบัญชีพร้อมใบสำคัญและหลักฐานให้ถูกต้องตามปีปฏิทิน บัญชีงบดุลจะต้องให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ของชมรมเพื่อพิจารณาอนุมัติให้การรับรอง ภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สิ้นปีการบัญชี
ข้อ 39 ผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของชมรมและจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต
ข้อ 40 ผู้สอบบัญชีมีอำนาจที่จะเรียกเอกสารเกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการและสามารถเชิญกรรมการหรือเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของชมรมได้ โดยคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชีเมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ 41 ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีพ้นจากหน้าที่ไม่ว่าด้วยเหตุใดระหว่างการสอบบัญชียังไม่เสร็จสิ้น ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้สอบบัญชีคนใหม่เข้าทำการแทนได้
ข้อ 42 ข้อบังคับของชมรมจะแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่ในการให้แก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
ข้อ 43 การเลิกชมรมจะเลิกได้โดยมติของที่ประชุมของชมรม มติของที่ประชุมใหญ่ที่เลิกชมรมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสมาชิกสามัญทั้งหมด หรือมีเหตุตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ข้อ 44 เมื่อชมรมต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ทรัพย์สินของชมรมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ดำเนินการชำระบัญชีตามที่กฎหมายกำหนดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตกเป็นของชมรม มูลนิธิหรือนิติบุคลที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยกบสาธารณกุศล ตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่
12.4 มีสิทธิใช้สถานที่และอุปกรณ์ของชมรมโยเท่าเทียมกันตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
12.5 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยกับการดำเนินงานของชมรมต่อคณะกรรมการ
12.6 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ประจำปี โดยสมาชิกสามัญเท่านั้นที่มีสิทธิเสนอญัตติและออกเสียงลงมติ รวมทั้งมีสิทธิในการเลือกตั้งประธานชมรม หรือได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการชมรม
12.7 สมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 มีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อชมรม เพื่อตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของชมรมได้
หมวดที่ 3
การดำเนินกิจการของสมาคม
ข้อ 13 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารและดำเนินกิจการของชมรม มีจำนวนอย่างน้อย 9 คนแต่ไม่เกิน 15 คน
ให้เลือกตั้งประธานชมรมฯ เพียงคนเดียวในที่ประชุมใหญ่ โดยวิธีการเสนอชื่อโดยสมาชิกสามัญหากมีผู้เสนอชื่อมากกว่า 1 คน ให้ลงคะแนนด้วยวิธีลับ การเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นประธานชมรมฯ ต้องมีสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย 3 คน ผู้มีสิทธิลงคะแนน คือสมาชิกสามัญเท่านั้น และให้ประธานชมรมฯ ไปแต่งตั้งคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามจำนวนที่กำหนดตามความเหมาะสมภายในสามสิบวัน ซึ่งตำแหน่งต่าง ๆที่แต่งตั้งจะทำหน้าที่ต่าง ๆ ดงนี้
13.1 ประธานชมรม ทำหนาที่บริหารและดำเนินกิจการต่าง ๆ ของชมรม เป็นตัวแทนของชมรมในการติดต่อกับบุคคลภายนอก ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมต่าง ๆ รมทั้งเป็นผู้กำหนดนโยบายการปฏิบัติและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ให้เป้นไปตามข้อบังคับของชมรมและกฎหมานที่เกี่ยวข้อง
13.2 รองประธานชมรมฯ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยประธานชมรม ในการบริหารและดำเนินกิจการของชมรม ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานชมรมมอบหมาย และทำหน้าที่แทนเมื่อประธานชมรมไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
13.3 เลขานุการชมรม ทำหน้าที่อำนวยการในการบริหารงานและดำเนินกิจการของชมรมให้เป็นไปตามนโยบายและคำสั่งของประธานชมรม รับผิดชอบงานธุรการทั้งปวงของชมรม ทำหน้าที่งานเลขานุการของชมรม และทำหน้าที่เลขานุการในการประชุม
13.4 นายทะเบียน ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานทะเบียนสมาชิก ทะเบียนประวัตินักดำน้ำ นักกีฬาดำน้ำ ตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิก และนักกีฬาดำน้ำให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของชมรมและกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
13.5 เหรัญญิก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการบัญชี บัญชีทรัพย์สินของชมรม จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย บัญชีงบดุลของชมรม และเก็บหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยข้องเพื่อการตรวจสอบ
13.6 ปฏิคม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรองและต้อนรับของชมรมฯ จัดเตรียมสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งการเตรียมสถานที่ประชุมของชมรมฯ
13.7 ประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่เผยแพร่การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรม รวมทั้งการดำเนินการเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของชมรม แก่สมาชิก บุคคลทั่วไป และสื่อมวลชนต่าง ๆ ให้เป็นที่แพร่หลาย
13.8 กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ให้ประธานชมรมกำหนดตามความเหมาะสมโดยรวมแล้วจะต้องมีจำนวนไม่เกินตามข้อบังคับนี้
ข้อ 14 กรรมการของชมรม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
14.1 มีสัญชาติไทย
14.2 มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำ
14.3 ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคลล้มละลายทุจริต
14.4 ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
14.5 ไม่เคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยความประมาทหรือความผิดลหุโทษ
14.6 ไม่เป็นผู้ที่คณะกรรมการของชมรม มีมติให้ออกจากกรรมการ อันเนื่องมาจากไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือการกระทำใด ๆ ที่นำความเสื่อมเสียมาสู่ชมรม
ข้อ 15 กรรมการของชมรมที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานชมรม มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี นับวันที่ประธานชมรมได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่
ข้อ 16 การเลือกตั้งประธานชมรมเพียงคนเดียวตามข้อ 8 นั้น หากตำแหน่งประธานชมรมว่างลงให้คณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และใหเคณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่ เพื่อเลือกตั้งประธานชมรมภายในสามสิบวัน
ข้อ 17 กรรมการประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ให้ทำเป็นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งต่อประธานชมรม และให้พ้นจากตำแหน่ง เมื่อหนังสือลาออกไปถึงประธานชมรมแล้ว กรณีประธานชมรมของลาออกจากตำแหน่ง ให้แจ้งลาออกต่อที่ประชุมคณะกรรมการ และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อที่ประชุมคณะกรรมการได้รับทราบแล้ว
ข้อ 18 ตำแหน่งคณะกรรมการชมรม ยกเว้นประธานชมรม หากว่างลงก่อนครบวาระ ให้ประธานชมรมแต่งตั้งบุคคลหรือสมาชิกที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่งที่ว่างลงนั้น และให้ผู้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น
ข้อ 19 กรรมการอาจพ้นตำแหน่ง ซึ่งมิใช่ออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้
19.1 ตาย
19.2 ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานชมรม
19.3 ขาดคุณสมบัติหรือสมาชิกภาพ
19.4 ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงสามในสี่ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่มการประชุม
19.5 ขาดการประชุม 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือรวม 5 ครั้งในวาระของกรรมการชุดนั้นโดยให้เลขานุการแจ้งให้กรรมการผู้นั้นทราบการพ้อนจากตำแหน่งด้วย
19.6 ตำแหน่งประธานชมรมว่างลง
ข้อ 20 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
20.1 มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับ ฉบับนี้
20.2 มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของชมรม
20.3 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการจะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
20.4 มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีและประชุมใหญ่วิสามัญได้
20.5 มีอำนาจลงโทษสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือระเบียบของชมรม หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการเสียหายแก่ชมรมตามสมควรแก่กรณี
20.6 มีอำนาจบริหารกิจการของชมรม เพื่อให้เป้นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจอื่น ๆ ตามข้อบังคับที่กำหนดไว้
20.7 มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะกิจ เฉพาะเรื่อง หรือปฏิบัติงานเป็นประจำจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกชมรม เพื่อดำเนินการบริหารจัดการเรื่อดังกล่านั้น ๆ ให้เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของชมรม
20.8 มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของชมรม
20.9 มีหน้าที่จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญร้องขอ จำนวนอย่างน้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
20.10 มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สิน รวมทั้งบัญชีงบดุลของชมรม และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถให้สมาชิกตรวจดูได้ เมือสมาชิกร้องขอ
20.11 มีหน้าที่จัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของชมรม เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ ในคราวเสนองบดุล
20.12 จัดทำบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของชมรม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบ และส่งรายงานการประชุมคณะกรรมการหรือประชุมใหญ่ทุกครั้ง ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
20.13 มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง แจ้งบัญชีรายชื่อ และจำนวนสมาชิกของชมรม เพียงสิ้นวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
20.14 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของชมรม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 21 กรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของชมรม
ข้อ 22 ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานชมรมและรองประธานชมรมไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่เข้าประชุมคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมในคราวนั้น
ข้อ 23 การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียเท่ากัน ก็ให้ประธานการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
หมวดที่ 4
การประชุมใหญ่
ข้อ 24 การประชุมใหญ่ของชมรม มี 2 ชนิด คือ
24.1 การประชุมใหญ่สามัญ
24.2 การประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ 25 คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๆ ละหนึ่งครั้งไม่เกินเดือนเมษายนของทุก ๆ ปี
ข้อ 26 การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจจะมีขึ้นได้โดยเหตุทีคณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกสามัญ ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกสามัญทั้งหมด ร้องขอต่อกรรมการจัดการให้มีขึ้น
ข้อ 27 ในการที่คณะกรรมการได้รับการร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญให้เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับการร้องขอ ถ้าคณะกรรมการไม่เรียกประชุมภายในระยะเวลากำหนดนี้ สมาชิกสามัญที่เป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมจะเรียกประชุมเองก็ได้
ข้อ 28 การแจ้งกำหนดการประชุมใหญ่ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกทราบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลา และสถานที่ให้ชัดเจน ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน และประกาศแจ้งกำหนดการนัดประชุมใหญ่ในเว็บไซต์หรือช่องทางอื่นเพื่อทราบโดยทั่วกัน
ข้อ 29 การประชุมใหญ่ประจำปี ควรมีวาระการประชุมดังต่อไปนี้
29.1 ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
29.2 รับรองรายงานการประชุมใหญ่ประจำปีครั้งที่แล้ว
29.3 แถลงผลงานที่ผ่านมาในรอบปี
29.4 แถลงบัญชีรายรับ-รายจ่าย และบัญชีงบดุลของชมรมให้ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ
29.5 เลือกตั้งประธานชมรมให้เป็นไปตามข้อ 13 และข้อ 16 เมื่อครบกำหนดวาระหรือตำแหน่งประธานชมรมว่างลง
29.6 แต่งตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี
29.7 เรื่องอื่น (ถ้ามี)
ข้อ 30 ในการประชุมใหญ่สามัญ หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องสมาชิกสามัญเข้าร่วมการประชุมไม่น้อยครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมก็ให้ขยายเวลาออกไปอีกพอสมควร แต่เมื่อครบกำหนดเวลาขยายออกไปแล้ว ยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ก็ให้เลื่อนการประชุมคราวนั้นไป และให้จัดการประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ภายในสิบสี่วัน นับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก สำหรับการประชุมในครั้งหลังนี้ มีสมาชิกสามัญจำนวนเท่าใดก็ได้เป็นองค์ประชุม ยกเว้นถ้าเป็นการประชุมใหญ่สามัญที่เกิดขึ้น จากการร้องขอของสมาชิกสามัญ ก็ไม่ต้องจัดประชุมใหญ่ให้ถือว่าการประชุมเป็นอันยกเลิก
ข้อ 31 การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 32 สมาชิกสามัญจะมอบอำนาจให้สมาชิกสามัญอื่นเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนตนก็ได้ โดยมีหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมสำเนาบัตรของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ โดยผู้รับมอบอำนาจจะรับมอบอำนาจเกินหนึ่งแห่งไม่ได้
ข้อ 33 ในการประชุมใหญ่ของชมรม ถ้าประธานชมรม และรองประธานชมรม ไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่เข้าร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งให้ทำน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
หมวดที่ 5
การเงินและทรัพย์สิน
ข้อ 34 การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของชมรม ให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของชมรม ถ้ามีให้นำฝากไว้กับธนาคารที่คณะกรรมการกำหนด โดยรายรับและรายจ่ายทั้งหมด ต้องผ่านบัญชีชมรมเท่านั้น
ข้อ 35 การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของชมรม จะต้องมีลายมือชื่อของประธานชมรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนประธานชมรม ร่วมกับเลขานุการหรือเหรัญญิก พร้อมประทับตราของชมรม จึงจะถือว่าใช้ได้
ข้อ 36 ให้ประธานชมรม มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน หากวงเงินที่สั่งจ่ายเกินกว่า 30,000 บาท (สามหมื่นบาท) จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการเสียก่อน
ข้อ 37 ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของชมรม ไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของชมรมทันทีที่โอกาสอำนวย
ข้อ 38 เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการบัญชีพร้อมใบสำคัญและหลักฐานให้ถูกต้องตามปีปฏิทิน บัญชีงบดุลจะต้องให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ของชมรมเพื่อพิจารณาอนุมัติให้การรับรอง ภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สิ้นปีการบัญชี
ข้อ 39 ผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของชมรมและจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต
ข้อ 40 ผู้สอบบัญชีมีอำนาจที่จะเรียกเอกสารเกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการและสามารถเชิญกรรมการหรือเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของชมรมได้ โดยคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชีเมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ 41 ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีพ้นจากหน้าที่ไม่ว่าด้วยเหตุใดระหว่างการสอบบัญชียังไม่เสร็จสิ้น ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้สอบบัญชีคนใหม่เข้าทำการแทนได้
หมวดที่ 6
การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับและการเลิกชมรม
ข้อ 42 ข้อบังคับของชมรมจะแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่ในการให้แก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
ข้อ 43 การเลิกชมรมจะเลิกได้โดยมติของที่ประชุมของชมรม มติของที่ประชุมใหญ่ที่เลิกชมรมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสมาชิกสามัญทั้งหมด หรือมีเหตุตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ข้อ 44 เมื่อชมรมต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ทรัพย์สินของชมรมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ดำเนินการชำระบัญชีตามที่กฎหมายกำหนดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตกเป็นของชมรม มูลนิธิหรือนิติบุคลที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยกบสาธารณกุศล ตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่
พลตรี ดร. สุชาต จันทรวงศ์ ผู้จัดทำข้อบังคับ
ประธานชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี
ประธานชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี
1 ต.ค.2564
*******************
รายชื่อคณะกรรมการ
ชมรมกีฬาดำน้ำจังหวัดราชบุรี
พ.ศ.2564-2567
พ.ศ.2564-2567
__________________
พลตรี ดร.สุชาต จันทรวงศ์ ประธานชมรมฯ
...................................... รองประธานชมรมฯ
...................................... กรรมการ
...................................... กรรมการ
...................................... กรรมการและเหรัญญิก
...................................... กรรมการและฝ้ายประชาสัมพันธ์
...................................... กรรมการและนายทะเบียน
...................................... กรรมการและเลขานุการ ...................................... กรรมการและเหรัญญิก
********************
ความคิดเห็น