WORLD OCEANS DAY (วันมหาสมุทรโลก)
WORLD OCEANS DAY (วันมหาสมุทรโลก )
“Our Oceans, Our Future.”
ในการประชุมของสหประชาชาติด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา เมื่อปี พ.ศ.2535 ณ กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ประเทศแคนาดาได้เสนอแนวความคิดเรื่องการปกป้องมหาสมุทรในที่ประชุม ซึ่งทุกประเทศเห็นด้วย หลังจากนั้นหลายประเทศทั่วโลกจึงได้ร่วมกันจัดงาน "วันมหาสมุทรโลก" ขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด และต่อมาในปี พ.ศ.2551 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้มีมติร่วมกันว่า เมื่อถึงปี พ.ศ.2552 จะกำหนดให้วันที่ 8 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันมหาสมุทรโลก" อย่างเป็นทางการ
เนื่องจากมหาสมุทรเป็นส่วนประกอบหลักของโลก จึงเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทุกสรรพสิ่งบนโลก มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 230,000 สปีชีส์ แม้ว่ามหาสมุทรในส่วนที่ลึก ๆ ยังคงไม่ถูกสำรวจ แต่ก็เชื่อกันว่ามีสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากกว่า 2 ล้านชนิดอยู่ใต้นั้น
ช่วยกันตั้งแต่วันนี้
ที่มาข้อมูล
“Our Oceans, Our Future.”
ในการประชุมของสหประชาชาติด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา เมื่อปี พ.ศ.2535 ณ กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ประเทศแคนาดาได้เสนอแนวความคิดเรื่องการปกป้องมหาสมุทรในที่ประชุม ซึ่งทุกประเทศเห็นด้วย หลังจากนั้นหลายประเทศทั่วโลกจึงได้ร่วมกันจัดงาน "วันมหาสมุทรโลก" ขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด และต่อมาในปี พ.ศ.2551 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้มีมติร่วมกันว่า เมื่อถึงปี พ.ศ.2552 จะกำหนดให้วันที่ 8 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันมหาสมุทรโลก" อย่างเป็นทางการ
ที่มาของภาพ http://blogs.lavozdegalicia.es/javiersanz/tag/medio-ambiente-marino/ |
สหประชาชาติ มีความมุ่งหวังที่จะให้ทุกประเทศในโลกนี้เกิดความตระหนักเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่มนุษยชาติได้รับจากมหาสมุทร และความท้าทายที่จะปกป้องรักษามัน อีกทั้งเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนโลกได้สะท้อนปัญหาที่มหาสมุทรกำลังเผชิญอยู่จากน้ำมือมนุษย์ รวมทั้งเพื่อรณรงค์สร้างความรับผิดชอบให้ทุกคนหันมาร่วมกันปกป้องมหาสมุทรอย่างยั่งยืน เพื่ออนาคตของคนรุ่นต่อไป
มหาสมุทรเป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกันและครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก เรียงตามลำดับจากขนาดใหญ่ไปหาเล็ก ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรเป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกันและครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก เรียงตามลำดับจากขนาดใหญ่ไปหาเล็ก ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรอาร์กติก
เนื่องจากมหาสมุทรเป็นส่วนประกอบหลักของโลก จึงเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทุกสรรพสิ่งบนโลก มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 230,000 สปีชีส์ แม้ว่ามหาสมุทรในส่วนที่ลึก ๆ ยังคงไม่ถูกสำรวจ แต่ก็เชื่อกันว่ามีสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากกว่า 2 ล้านชนิดอยู่ใต้นั้น
การจัดกิจกรรมวันมหาสมุทรโลกในประเทศไทย
การจัดกิจกรรมวันมหาสมุทรโลกในประเทศไทยนี้ มีหน่วยงาน มูนิธิ องค์กร กลุ่มหรือชมรมต่างๆ จำนวนไม่มากนักที่พยายามรณรงค์จัดให้มีกิจกรรมขึ้น ที่เห็นจัดกันอยู่เป็นประจำก็เพียงไม่กี่กลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็น NGO และ NPO ส่วนหน่วยราชการไม่ค่อยเห็นครับ หน่วยงานที่ผมเห็นว่าน่าจะจัดกิจกรรมอย่างมากก็คือ สถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อสร้างความตะหนักให้นักเรียน นักศึกษา ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ของเรา
กิจกรรมเด่นๆ เท่าที่ผมทราบในปีนี้ ก็คือกิจกรรม "จากทะเลสู่จาน เราจะรักษามหาสมุทรได้อย่างไร" ซึ่งจัดขึ้นโดย WWF ประเทศไทย มูลนิธิสายใยแผ่นดิน โครงการเครือข่ายรักษ์ปลา โครงการประมงพื้นบ้าน-สัตว์น้ำอินทรีย์ โครงการตลาดยั่งยืน เจ้าของร้านโบ.ลาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิ.ย. 2560 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างเวลา 10.00 น. – 16.00 น. ซึ่งในงานยังมีการออกร้านขายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลออร์แกนิคจากชาวประมงพื้นบ้าน และกิจกรรมเสวนาที่บอกเล่าเรื่องราวที่มาของอาหารทะเล รวมถึงการแสดงดนตรีชั้นนำต่างๆ อีกด้วย
วันนี้ ผมอยากทุกคนหันมาช่วยกันปกป้องและอนุรักษ์ทรัพยากรใต้ท้องทะเลของเราให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ขอเน้น "อย่างยั่งยืน" นะครับ ไม่ต้องไปอนรุักษ์มหาสมุทรที่ไหนไกลบ้าน เอาทะเลไทยนี่แหละครับ หากเราสอนลูกหลานว่า "ใต้ทะเลไทยสวย" แต่มันถูกทำลายหมดแล้วในสมัยเรา พอพวกเขาโตขึ้น เขาก็จะว่าได้ว่า "เราโกหก"
ที่มาข้อมูล
ความคิดเห็น